แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี
พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิด
ทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้
สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮันโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้าง
อนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี
พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระองค์ถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างพระมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่า
สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
กำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ว่า นักโบราณคดี ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ [1] และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[2]
ปราสาทหินนครวัด
นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
พระตาชวังชังด็อก
ชังด็อกกุง หรือ พระราชวังชังด็อก เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซ็อน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังคย็องบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace) ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งโชซ็อนได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร
ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์ โดยหลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้งในเหตุจลาจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา จนพระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งจากจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม
พระราชวังชังด็อกได้ถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังคย็องบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง (จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเกาหลี) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงนี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังชังด็อกเรื่อยมากระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
โซล บีวอน
อย่างไรก็ตาม บรรดาสมาชิกราชวงศ์ลี (ราชวงศ์จักรพรรดิเกาหลี) ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีสถานะเป็นประมุแห่งรัฐอย่างเป็นทางการนั้น หากในอนาคตสถาบันจักรพรรดิเกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์แห่งรัฐ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) พระราชวังแห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อการขึ้นเสวยราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ
ปราสาทฮิเมะจิ
ปราสาทฮิเมะจิ (ญี่ปุ่น: 姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle ?) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ปราสาทฮิเมะจิได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2536 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า ปราสาทนกกระสาขาว ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมะจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก
เทพีเสรีภาพ
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ หรือ เทพีเสรีภาพ เป็นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ และมีคุณค่าทางจิตใจ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Statue of Liberty แต่เดิมชื่อว่า Liberty Enlightening the World ตั้งอยู่ ณ เกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ก ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นของขวัญที่ชาวฝรั่งเศสมอบให้แก่ชาวอเมริกัน ในวันที่อเมริกาเฉลิมฉลองวันชาติครบ 100 ปี ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2419 โดยส่งมอบอย่างเป็นทางการ โดยมี ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429เทพีเสรีภาพ เป็นประติมากรรมโลหะสำริด รูปเทพีห่มเสื้อคลุม มือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และมีอักษรสลักว่า "JULY IV MDCCLXXVI" หรือ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319(ค.ศ. 1776) เท้าข้างหนึ่งมีโซ่ที่ขาด แสดงถึงความหลุดพ้นจากการเป็นทาส สวมมงกุฎ 7 แฉกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทะเลทั้งเจ็ด หรือทวีปทั้งเจ็ด ภายในมีบันไดวนรวมทั้งสิ้น 162 ขั้น เกิดขึ้นตามแนวคิดของเอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส เพื่อระลึกถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน ออกแบบโดยเฟรเดรีค โอกุสต์ บาร์โทลดี โครงร่างเหล็กออกแบบโดย เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค และกุสตาฟ ไอเฟล ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอไอเฟล ในกรุงปารีส ส่วนฐานอนุสาวรีย์ สร้างโดยสหรัฐอเมริกา จารึกโคลงซอนเนต์ของกวีชาวอเมริกัน เอมมา ลาซารัส ซึ่งมีเนื้อหาต้อนรับผู้อพยพที่เข้าอยู่มาในอเมริกา
สาเหตุที่ทำให้ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพให้แก่สหรัฐอเมริกา เพราะว่า พวกเขาชื่นชมชาวอเมริกันที่หาญกล้าหาญ ที่ลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ จากสหราชอาณาจักรสำเร็จ เป็นชาติเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศส จึงรณรงค์หาเงินบริจาคจากทั่วประเทศ
ในการขนส่งจากฝรั่งเศส มายังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความใหญ่โตของอนุสาวรีย์ ทำให้ต้องแยกส่วนแล้วมาประกอบที่อเมริกา มีชิ้นส่วนรวมทั้งหมด 350 ชิ้น และนำมาประกอบขึ้นใหม่โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน แต่ส่วนฐาน พบว่ามีการสร้างเสร็จ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2429 โดยหมุดตัวสุดท้ายถูกประกอบเสร็จ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429
ปี พ.ศ. 2527 องค์การยูเนสโก ประกาศให้อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ เป็นมรดกของโลก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 800,000 คน
ตามปกติแล้ว ประชาชนสามารถขึ้นไปชมวิวบนส่วนหัวมงกุฎของเทพีได้ แต่หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทางการได้สั่งปิดอนุสาวรีย์ดังกล่าว ล่าสุด มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปที่เกาะ เพื่อชมความสวยงามของอนุสาวรีย์จากด้านล่างได้ แต่ยังตัวอนุสาวรีย์ยังปิดอยู่ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ที่ส่วนฐานของอนุสาวรีย์ ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย
อ่าวหะล็อง
อ่าวหะล็อง (เวียดนาม: Vịnh Hạ Long) หรือที่นิยมเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า ฮาลองเบย์ (อังกฤษ: Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออก 170 กิโลเมตร ชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า "Vinh Ha Long" หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
ในอ่าวหะล็องมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้ (Hang Đầu Gỗ) หรือชื่อเดิมว่า "กร็อตเดแมร์แวย์" (Grotte des Merveilles) ซึ่งตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าวเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง 3 โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกั๊ตบ่าและเกาะต่วนเจิว ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่น ๆ บางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
นครเปตรา
ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล[2] ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว [3]เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซียอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น